Hetalia: Axis Powers - Taiwan

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์



credit : https://www.youtube.com/watch?v=SDnWOGjBAIg
credit : https://www.youtube.com/watch?v=DjONgZ3BxXs

ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์



credit : https://www.youtube.com/watch?v=2UZxsfcUtWk
credit : https://www.youtube.com/watch?v=RNwt5Yr4Kwc

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

credit : https://www.youtube.com/watch?v=SDnWOGjBAIg credit : https://www.youtube.com/watch?v=DjONgZ3BxXs

ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์

credit : https://www.youtube.com/watch?v=2UZxsfcUtWk credit : https://www.youtube.com/watch?v=RNwt5Yr4Kwc

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

credit : https://www.youtube.com/watch?v=nqESB3dwZTY

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ พร้อมเฉลย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ
Cr. http://mumucherrylay.blogspot.com/2015/07/6-7.html


ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)
           - คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
           - ฟิสิกส์ คลิกที่นี่
           - เคมี คลิกที่นี่  + เฉลย คลิกที่นี่
           - ชีววิทยา คลิกที่นี่
           - ภาษาไทย คลิกที่นี่ 
           - สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           - ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2558 (สอบ ม.ค. 2558)
           - คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ 
           - ฟิสิกส์ คลิกที่นี่ 
           - เคมี คลิกที่นี่   
           - ชีววิทยา คลิกที่นี่ 
           - ภาษาไทย คลิกที่นี่ 
           - สังคมศึกษา คลิกที่นี่ 
           - ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ 

ขอบคุณที่มาจาก : http://p-dome.com/7-w-55-58/
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ
Cr. http://www.dek-d.com/admission/33429/

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ
Cr. https://www.opendurian.com/news/what_is_7_math/

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 5 บทความที่น่าสนใจ : How to perfect สวยใสสุขภาพดี

เมื่อพูดถึงปัญหาขาใหญ่ ก่อนอื่นก็คงต้องมาดูกันก่อนว่า ขาใหญ่ นั้นเกิดจากอะไร เกิดจากปัญหาส่วนไหนของผิวหนังจึงจะแก้ปัญหาได้ถูกจุด ซึ่งทุกส่วนของผิวหนังในร่างกายไม่ว่าจะเป็นใบหน้า ลำตัว หน้าท้อง ขา หรือ แขน ก็จะประกอบไปด้วย 4 ส่วน หลักๆ ส่วนแรกคือ ผิวหนัง ประกอบด้วยคอลลาเจน และเนื้อเยื่อผิวหนัง ส่วนที่ 2 คือไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง เราจะเรียกไขมันส่วนนี้ว่าไขมันชั้นบน  ถัดไปจากนั้นก็จะเป็นส่วนชั้นกล้ามเนื้อ และใต้ชั้นกล้ามเนื้อ ก็คือไขมันใต้ชั้นกล้ามเนื้อ หรือ ไขมันด้านใน
ในคนอายุน้อยๆ ระบบเผาผลาญในร่างกายยังดี จึงมักไม่ค่อยเกิดไขมันสะสม และโครงสร้างผิวก็ยังดี แข็งแรง จึงไม่มีปัญหาผิวหย่อนคล้อย แต่ส่วนใหญ่ก็ยังพบกับปัญหานี้  โดยปัญหาขาใหญ่ในคนอายุน้อยๆที่ไม่อ้วน ต้องเน้นว่าไม่อ้วนนะคะ เพราะถ้าอ้วนยังไงขาก็ต้องใหญ่อยู่แล้วค่ะ ขาใหญ่ในสาวๆมักจะเป็นเฉพาะส่วนต้นขาบริเวณด้านข้าง เป็นกระเปาะยื่นออกมาซึ่ง เกิดจากไขมันไปสะสมในบริเวณนั้น ทำให้ขาไม่เรียว ใส่ขาสั้น หรือกางเกงรัดรูปไม่สวย เป็นเรื่องกวนใจสาวๆยุคนี้มากทีเดียว อีกสาเหตุขาใหญ่สำหรับสาวๆที่ไม่อ้วน ก็คือตอนเด็กๆเล่นกีฬาเยอะ ก็จะมีกล้ามเนื้อเยอะ ขาใหญ่แบบนี้ก็ต้องใช้วิธีฉีดโบทอกซ์เพื่อให้กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ซึ่งแต่ละวิธีก็มีความเสี่ยงและใช้เงินค่อนข้างมากเลยทีเดียว แต่ก็มีอีกวิธีแทนที่เราจะไปดูดไขมันก็คือ การออกกำลังกายให้ถูกสัดส่วน
โดยวิธีออกกำลังกายเพื่อกระชับต้นขาก็มีทั้งหมด 6 แบบ จากที่เรานำมาเสนอ ดังนี้
1.  Lunge Back kick ทำโดยการยืนย่อเข่า จากนั้นให้เตะเขาไปด้านหลัง ทำแบบนี้ 3 เซ็ต เซ็ตละ 5 ครั้ง

 2.  วิ่งเขย่ง  ทำโดยวิ่งเขย่งสลับขาไปมาอยู่กับที่ ครั้งละ 1-2 นาที
 1470756737 butt kick1

3. Heel beats ทำโดยการนอนคว่ำแล้วยกขาขึ้นเหนือพื้น และแยกขาออกจากกัน ซ้ายขวา สลับกันไปมา โดยทำทั้งหมด 3 เซ็ต เซตละ 45 วินาที
    หรือตามคลิปนี้ 

4. Plie Squats Calf Raises ทำโดยการยืนโดยอ้าขาให้กว้างกว่าไหล่พอประมาณ จากนั้นให้ย่อขา และเขย่งเท้า ทำ 3 เซ็ต เซ็ตละ 45 วินาที

5. Inner Thigh Lift Exercises ทำโดยการนอนตะแคงข้างใดข้างนึง กรณีนอนตะแคงซ้าย ให้ยกเท้าขวาไขว้ขาซ้ายแล้ววางดังภาพ จากนั้นให้ยกขาซ้ายขึ้น ทำเซ็ตละ 30 ครั้ง

     หรือตามคลิปนี้

   6. Split Squat with Side Kick ทำโดยการยืนแล้วย่อขาและโน้มตัวมาด้านหน้าดังภาพ แล้วยืดตัวขึ้นพร้อมเตะขาไปข้างๆ ทำประมาณ 5 นาที
  หรือตามคลิปนี้

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://sistacafe.com/summaries/12479

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2559


.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559  คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558  และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 นั่นเอง

ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559






ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.... หรือ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นหนึ่งใน "ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล" ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปแล้ว และกำลังเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
          เมื่อต้นปี 2558 คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติหลักการกฎหมายชุดนี้ ก่อนมีกระแสคัดค้านอย่างมากบนโลกออนไลน์ จนกระทั่ง วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย เคยเปิดเผยว่า ภายหลังการหารือร่วมกับตัวแทนองค์กรสื่อ ผู้ค้า อี-คอมเมิร์ซ ผู้ผลิตสื่อออนไลน์ และนักวิชาการด้านกฎหมาย ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงออกและชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของชุดกฎหมายดังกล่าวที่จะต้องพิจารณาแก้ไขโดยด่วน
          ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นหนึ่งในฉบับที่โดดเด่นในชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล ซึ่งสาเหตุของการเสนอแก้ไขเนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีปัญหาการบังคับใช้หลายประเด็น เช่น ถูกใช้กับความผิดด้านความมั่นคงมากกว่าความผิดเกี่ยวกับการเจาะระบบ กำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการไว้กว้างเกินไปทำให้เกิดบรรยากาศการเซ็นเซอร์ตัวเอง การตีความมาตรา 14(1) เพื่อใช้กับการหมิ่นประมาทออนไลน์ซึ่งผิดเจตนารมณ์ ทำให้ตลอด 9 ปีของการบังคับใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พบว่า กฎหมายนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างมาก 
          ขณะเดียวกันทางฝั่งเจ้าหน้าที่ก็ยังพบปัญหาว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ใช้กันอยู่นั้นให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไว้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดบนโลกอินเทอร์เน็ต และควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นอันตรายต่อสังคม 
          หลังผ่านมากว่า 1 ปี ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล ถูกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขปรับปรุงเสร็จไปทีละฉบับ และทยอยส่งกลับมาให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อส่งต่อให้สนช. นำไปพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นฉบับหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้
แก้มาตรา 14(1) ไม่มุ่งเอาผิดกับการหมิ่นประมาท แต่ยังคลุมเครือเปิดช่องตีความได้
           พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์มุ่งเอาผิดการทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้ามาทำธุรกรรมต่างๆ เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ หรือ ที่เรียกว่า Phishing แต่เนื่องจากกฎหมายเดิมเขียนเอาไว้ว่า “ผู้ใด... นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” ทำให้มาตรานี้ถูกตีความไปใช้ลงโทษการโพสต์ข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบุคคลอื่น หรือการใส่ความกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ และส่งผลสร้างความกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างมาก


          เคยเสนอแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขียน มาตรา 14(1) ใหม่เป็น “ผู้ใดโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนสำคัญที่เขียนเข้ามาใหม่ คือ การโพสต์ข้อมูลต้องมีเจตนาเพื่อ “ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล” ทำให้ชัดเจนว่าเป็นการเอาผิดกับการ Phishing และการหมิ่นประมาทบนโลกออนไลน์ก็จะไม่ผิดตามกฎหมายนี้อีกต่อไป แต่ตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ครม. มีมติเห็นชอบล่าสุด เขียนมาตรา 14(1) ใหม่ว่า "ผู้ใด... โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน"
ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปในร่างฉบับนี้ คือ กำหนดให้ชัดเจนว่าผู้กระทำต้องมีเจตนา "โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง" ซึ่งคำว่า โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายความว่า "เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น" เห็นได้ว่า ผู้ร่างต้องการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นว่ามาตรา 14(1) มีวัตถุประสงค์ใช้เอาผิดการกระทำที่มุ่งต่อประโยชน์ทางทรัพย์สิน ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นออนไลน์ และการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 14(1) จะต้องมีพฤติการณ์ที่จะสร้างความเสียหายแก่ประชาชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต่างจากมาตรา 14(1) เดิม ซึ่งการกระทำที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งก็เป็นความผิดได้ อย่างไรก็ดี การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้ ยังเปิดช่องให้เกิดการตีความนำไปใช้ลงโทษกับการหมิ่นประมาทออนไลน์ได้อยู่บ้าง โดยอาจมีผู้เข้าใจผิดตีความไปได้ว่า การโพสต์เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เป็นความจริงและทำให้ประชาชนทั่วไปสับสน เป็นเจตนา "โดยหลอกลวง" และยกเอามาตรา 14(1) มาใช้ดำเนินคดีกับการแสดงความคิดเห็นต่อไปอีก การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้จึงยังเปิดช่องให้กฎหมายถูกใช้อย่างผิดเจตนารมณ์ได้อยู่ ต่างจากร่างฉบับปี 2558 ที่เขียนไว้ค่อนข้างรัดกุมชัดเจนกว่า
ส่วนบทกำหนดโทษ ตามมาตรา 14(1) ของร่างล่าสุด แบ่งโทษออกเป็นสองระดับ โดยความผิดฐานนำเข้าข้อมูลปลอมหรือข้อมูลเท็จ หากมีลักษณะจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนทั่วไปได้ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และหากจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น มาตรา 14 วรรคสอง เขียนให้มีโทษน้องลง โดยให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท




เพิ่มความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบ "ความปลอดภัยสาธารณะ" "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ"
จากเดิมที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) เอาผิดการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สองลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ เพิ่มข้อความขึ้นมาโดยเอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สี่ลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะ 3) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และ 4) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
"ความปลอดภัยสาธารณะ" และ "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ" เป็นคำที่มีความหมายกว้างและเป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยใช้เป็นเงื่อนไขกำหนดการกระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษ ยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน การนำคำที่มีความหมายกว้างมาบัญญัติเป็นข้อห้ามลักษณะนี้อาจเป็นการใช้ถ้อยคำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การคุ้มครองความมั่นคงของระบบไซเบอร์ และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นนโยบายรวมของการผลักดันกฎหมายชุดความมั่นคงดิจิทัลทั้งระบบ จึงยังต้องรอดูร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ ในชุดกฎหมายนี้ที่จะเผยแพร่ตามมาอีกด้วยว่า มีกฎหมายฉบับใดให้คำนิยามของสองคำนี้ไว้หรือไม่

แอดมินที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจรับผิดเท่าคนโพสต์ เพิ่ม "ขั้นตอนการแจ้งเตือน" ให้ทำตามแล้วพ้นผิด
          ตามมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ประเด็นความรับผิดของ “ผู้ให้บริการ” เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการที่ “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลอยู่ ต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นการสร้างภาระทางกฎหมายให้ผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเว็บไซต์หลายแห่งจึงยกเลิกบริการพื้นที่แสดงความคิดเห็นอย่าง เว็บบอร์ด หรือการคอมเม้นต์ท้ายข่าว และต้องคอยเซ็นเซอร์เนื้อหาบนโลกออนไลน์โดยการลบข้อความที่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
          ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ แม้จะยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดเท่ากับผู้กระทำความผิด แต่ก็เพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาว่า
            “มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 14
             ให้รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์
             ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ" 
          จุดที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากร่างเดิมคือพฤติการณ์อันแสดงถึงเจตนาของผู้ให้บริการ ซึ่งกฎหมายเดิมเอาผิดกับผู้ให้บริการที่ "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม" ส่วนตามร่างฉบับนี้ เอาผิดกับผู้ให้บริการที่ 1) ให้ความร่วมมือ 2) ยินยอม 3) รู้เห็นเป็นใจ
          การ "ให้ความร่วมมือ" หรือ "รู้เห็นเป็นใจ" อาจต้องชัดเจนว่าผู้ให้บริการมีเจตนากระทำความผิดร่วมกับผู้ที่โพสต์เนื้อหาผิดกฎหมายเองด้วย แต่คำว่า "ยินยอม" ยังเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่า กรณีใดผู้ให้บริการพบเห็นข้อความแล้วแต่มีเจตนาที่จะยินยอมให้อยู่ต่อไป หรือกรณีใดที่ผู้ให้บริการไม่ได้ยินยอมแต่ทำหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อตรวจสอบไม่พบเนื้อหาผิดกฎหมาย หรือเนื่องจากความผิดพลาดส่วนบุคคลโดยไม่ได้ตั้งใจ 
          สำหรับ “ขั้นตอนการแจ้งเตือน” หรือระบบ Notice and Takedown นั้น เป็นหลักการใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในกฎหมายเดิม ร่างฉบับนี้ยังไม่ได้เขียนไว้ว่าขั้นตอนการแจ้งเตือนจะเป็นอย่างไรบ้าง ผู้ให้บริการจะต้องลบออกภายในเวลาเท่าใด และผู้ให้บริการมีสิทธิอุทธรณ์ได้หรือไม่ ร่างฉบับนี้เพียงกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นกระทรวงที่จะตั้งขึ้นใหม่ เป็นผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดต่อไป จึงต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่จะออกมาในอนาคตอีกด้วยว่าจะสามารถสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมได้หรือไม่
          เท่าที่ทราบจากร่างในปัจจุบัน คือ ผู้ให้บริการที่ไม่ได้ลบข้อความผิดกฎหมายออกภายในเวลาที่กำหนดยังคงต้องรับผิดในอัตราโทษเท่ากับผู้ผลิตและเผยแพร่ข้อความ หากผู้ให้บริการจะพ้นผิดได้เป็นภาระของผู้ให้บริการที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนถูกต้องแล้ว



                                                    Cr : https://ilaw.or.th/node/4092

ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล สั่งบล็อคเว็บ "ขัดต่อศีลธรรม" ได้ แม้เนื้อหาไม่ผิดกฎหมายใด
          ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ใช้กันอยู่ มาตรา 20 เนื้อหาที่เจ้าหน้าที่นำไปขอหมายศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือการ "บล็อคเว็บ" ได้ ต้องมีลักษณะ คือ เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวกับการก่อการร้าย หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 
          ก่อนหน้านี้แม้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะตรวจพบเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น เว็บไซต์เล่นการพนัน เว็บไซต์ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ แต่ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ เนื่องจากเป็นกระทำความผิดที่อยู่นอกเหนือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และอยู่นอกเหนืออำนาจของเจ้าพนักงาน ทำให้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจการปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ได้
          ในร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับล่าสุด มาตรา 20(3) จึงกำหนดให้เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สามารถขอหมายศาลให้บล็อคเว็บที่มีเนื้อหาผิดต่อกฎหมายอื่นได้ด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นๆ ร้องขอมา เช่น เมื่อตำรวจในท้องที่ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์เล่นการพนัน เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญาร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายของละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น 
          นอกจากนี้ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีมาตรา 20(4) ที่เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ที่แม้เนื้อหาจะไม่ผิดกฎหมายใดเลยก็ได้ ถ้าเห็นว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยมาตรา 20(4) กำหนดให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเป็นหน่วยงานใหม่ มีกรรมการ 5 คน โดยสองในห้าคนต้องเป็นตัวแทนภาคเอกชน หากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ปิดกั้นเนื้อหาใดที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงานก็ดำเนินการขออนุมัติจากศาลให้บล็อคเว็บไซต์ที่มีเนื้อหานั้นๆ ได้ 

         นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ ยังมีประเด็นใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น การขยายระยะเวลาที่ให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ในกรณีจำเป็นจากไม่เกินหนึ่งปีเป็นสองปี การมีเงินเพิ่มพิเศษให้สำหรับเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การเอาผิดกับการเผยแพร่ภาพตัดต่อไปถึงภาพตัดต่อของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว การเพิ่มโทษฐานส่งสแปมโดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิก รวมทั้งการเพิ่มโทษการเจาะระบบหรือทำลายระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐด้วย


My First Blog

MY PROFILE


Name : Chanikan Jainual   Nickname : Eiffy

High school last year at Yupparraj Wittayalai School
Class : 2  Number : 12

Birth Day : 19/03/1999 Age : 17 

contact
Facebook : Chanikan Eve
Insgrams : eiffycj
twitter : @eiffychani
ID Line : evezyeg
E-mail : chanikaneif@gmail.com


-----------------------------------------------------

MY FAVOURITE PICTURE


เกาะแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เกาะที่เต็มไปด้วยธรรมชาติอันงดงาม น้ำทะเลใส บรรกาศอบอุ่นพอดี
เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้อย่างดี 
instagram : eiffycj

 

The Habour เดอะฮาเบอร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เป็นศูนย์การค้าแบบเปิดโล่ง แห่งใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ 
ตกแต่งอาคารด้วยสีสันสดใสสไตล์ท่าเรือ โดยภายในมีร้านค้าอยู่มากมาย 
ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ธนาคาร คลินิกความงาม ร้านกาแฟ 
คาร์แคร์ ของกิน ของใช้ เสื้อผ้า และมุมถ่ายรูปสวยๆ 
instagram : eiffycj


  สวนสนบ่อแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เป็นแปลงเพาะพันธุ์สนที่มีแนวต้นสนปลูกเป็นระเบียบ 
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมมาเที่ยวชมในยามเช้าเนื่องจากจะได้สัมผัสกับอาการศที่บริสุทธิ์แล้ว 
ยังได้เก็บรูปพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าที่สวนสนบ่อแก้วแห่งนี้
instagram : eiffycj


-----------------------------------------------------

MY BEST FRIEND
มารู้จักกันเพิ่มขึ้นอีกนะคะ



นายสุรยุทธ์ ภู่ทอง ชั้น ม.6/2 เลขที่ 11
เป็นผู้ชายที่มีความเป็นผู้หญิงสูงมาก เป็นคนตลก น่ารักใสๆ
เฮฮา อยู่ด้วยแล้วสนุกสนาน 
contact Facebook : Jamesjumjab Surayut Insgrams : Jamesjum_jab twitter : @dadada0123jszeb ID Line : Jszeb2437 E-mail : jamesza.22756@gmail.com


ทิว แก้ม อีฟ หมูแฮม เต๋า เอิร์น
เพื่อนๆในกลุ่ม ทุกคนนิสัยดี เฮฮา บ้าๆบอๆ
แถมยังหน้าตาดีอีก อิอิ

ฝน
เป็นคนใจๆ ไปไหนไปกัน จริงใจ อยู่ด้วยแล้วสบายใจ


-----------------------------------------------------

MY FAVOURITE MUSIC


Hilary Duff - Sparks (Fan Demanded Version)




THANK YOU FOR ATTENTION